วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ฟุตบอลบราซิล

ฟุตบอลทีมชาติบราซิล เป็นทีมฟุตบอลประจำชาติจากประเทศบราซิล และเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในโลก ซึ่งชนะเลิศฟุตบอลโลก 5 ครั้ง

ทีมชาติบราซิลมีชื่อเล่นของทีมว่า Seleção ซึ่งหมายถึง ผู้ที่ถูกเลือก หรือบุคคลที่เลือกมาแล้ว แต่ชื่อที่รู้จักโดยทั่วไปและแฟนฟุตบอลชาวไทยก็นิยมเรียกคือ แซมบ้า (Samba)


ผลงาน

ฟุตบอลโลก
บราซิลเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดในฟุตบอลโลก โดยชนะเลิศ 5 ครั้ง (1958, 1962, 1970, 1994, 2002) รองชนะเลิศ 2 ครั้ง (1950, 1998) ได้อันดับสาม 2 ครั้ง (1938, 1978) และเป็นทีมเดียวที่เข้าร่วมเล่นฟุตบอลโลกทุกครั้งตั้งแต่ครั้งแรกใน ฟุตบอลโลก 1930

โคปาอเมริกา
บราซิลชนะเลิศทั้งหมด 8 ครั้ง - 1919, 1922, 1949, 1989, 1997, 1999, 2004, 2007, 2008

ผลงานอื่น
ฟุตบอลโลกเยาวชน ยู 20 - ชนะเลิศ 4 ครั้ง - 1983, 1985, 1993, 2003
โอลิมปิก - เป็นการแข่งขันกีฬาเดียวที่บราซิลไม่เคยชนะเลิศ โดยความสำเร็จสูงสุดคือ ได้เหรียญเงิน 2 ครั้ง (1984, 1988) และเหรียญทองแดงหนึ่งครั้ง (1996)
โกลด์คัพ (ได้รับเชิญ) - อันดับสูงสุดคือ รองชนะเลิศ 1996, 2003

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ
คาฟู
แจซินโญ
การ์รินชา
เบเบโต้
เปเล่
ซิโก้
ดีด้า
ทอสเทา
โสเครตีส
ทัฟฟาเรล
ริวัลโด้
โรนัลโด้
โรเบอร์โต้ คาร์ลอส
โรมารีโอ

ผู้เล่นคนสำคัญในปัจจุบัน
กาก้า
โรนัลดินโญ่
โรบินโญ่

สถิติดาวยิง
# ชื่อ ช่วงเวลา ประตู ลงเล่น
1 เปเล่ 1957 - 1971 77 92
2 โรนัลโด^ 1994 - ปัจจุบัน 62 97
3 โรมารีโอ 1987 - 2005 55 70
4 ซิโก้ 1971 - 1989 52 72
5 เบเบโต 1985 - 1998 39 75
6 ริวัลโด 1993 - 2003 34 74
6 กาก้า 2002 - ปัจจุบัน 17 45
ลูซิโอ้

^ ยังคงเล่นอยู่

พระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทําความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา ๑๓ ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔

มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่


มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง

มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

เคส (Case) หมายถึง กล่องหรือตัวถังคอมพิวเตอร์ เป็นที่ติดตั้งอุปกรณ์ภายในของคอมพิวเตอร์ เช่น เมนบอร์ด เพาเวอร์ซัพพลาย ตลอดจนการ์ดต่างๆ เป็นต้น


มอนิเตอร์(Monitor) หมายถึง จอภาพซึ่งจัดอยู่ในอุปกรณ์ เอาท์พุท (Output Unit) ใช้ทำหน้าที่แสดงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ได้จากการประมวลผลแล้ว ปัจจุบันมีทั้งแบบ จอธรรมดาที่ใช้หลักการเดียวกันกับโทรทัศน์ และจอแบนที่ใช้เทคโนโลยีของ LCD


คีย์บอร์ด (KeyBoard) หมายถึง แป้นพิมพ์ จัดเป็นอุปกรณ์อินพุท (Input Unit) ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลหรือคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน


เมาส์ (Mouse) จัดเป็นอุปกรณ์อินพุท (Input Unit) เช่นเดียวกันกับแป้นพิมพ์ ทำหน้าที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน โดยการคลิก(Click) หรือ ดับเบิ้ลคลิก(Double Click)


เมนบอร์ด (Mainboard) หมายถึง แผงวงจรหลัก ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย แต่ส่วนที่สำคัญคือ

• ชิปเซ็ต(Chipset) คอยทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์
• บัส (Bus) ที่เป็นเส้นทางเดินของข้อมูล
• สล็อต(Slot) เป็นช่องที่ใช้เสียบการ์ดต่าง ๆ
• ซ็อคเก็ต (Socket) เป็นช่องที่ใช้ติดตั้งซีพียู
• ฯ ล ฯ


ซีพียู (CPU) เป็นส่วนที่เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นที่ติดตั้งอุปกรณ์ภายในของคอมพิวเตอร์ เช่น เมนบอร์ด เพาเวอร์ซัพพลาย ตลอดจนการ์ดต่างๆ เป็นต้น


แรม (RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ทำหน้าที่จดจำข้อมูลในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังทำงาน แต่เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลเหล่านั้นก็จะหายไป ดังนั้นหากมีงานใดที่สำคัญต้องการเก็บบันทึกไว้ใช้ในคราวต่อไป จะต้องจัดเก็บหรือบันทึกข้อมูลเหล่านั้น ไว้ใน หน่วยความจำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟลอปปี้ดิสก์ ซีดีรอม เป็นต้น


ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เป็นหน่วยความจำรอง ที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไฟล์งานที่ทำจากโปรแกรมต่าง ๆ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์ภาพยนต์ ไฟล์เพลง MP3 เป็นต้น เนื่องจากมีความจุข้อมูล 40-80 กิกะไบต์ ซึ่งถือว่ามากกว่าสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ


ฟลอปปี้ดิสก์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและเก็บบันทึกข้อมูลขนาดเล็กที่อยู่ในแผ่นดิสก์ มีความจุข้อมูล 1.44 เมกะไบต์


ซีดีรอม (CD-ROM) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่น ซีดีรอม ไม่ว่าจะเป็นแผ่นซีดีเพลง ซีดีภาพยนต์ ซีดีรูปภาพ ฯลฯ มีความจุข้อมูล 650 - 800 เมกะไบต์


การ์ดจอ (Display Card) หรือที่เรียกว่า การ์ดจอภาพ ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณภาพ คอมบางตัวอาจจะไม่มีเป็นการ์ดเพราะใช้ออนบอร์ด คือ ส่วนประกอบของการ์ดจอ ฝังอยู่ในเมนบอร์ดแล้ว

ซาวด์ การ์ด (Sound Card) หรือที่เรียกว่า การ์ดเสียง ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณเสียง

ส่วนประกอบอื่นๆภายนอกที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พริ้นเตอร์ (Printer) จัดเป็นอุปกรณ์เอาท์พุท (Input Unit) ทำหน้าที่ พิมพ์ไฟล์ข้อมูลออกมาที่กระดาษ

สแกนเนอร์ (Scaner) จัดเป็นอุปกรณ์อินพุท (Input Unit) ทำหน้าที่ ถ่ายภาพจากกระดาษเข้าไปเก็บเป็นไฟล์เอกสารในคอมพิวเตอร์

โปรเจ็คเตอร์ (Projector) จัดเป็นอุปกรณ์เสริมด้านเอาท์พุท โดยทำหน้าที่ฉายภาพจากมอนิเตอร์ไปยังจอภาพขนาดใหญ่

กล้องดิจิตอล (Digital Camera) จัดเป็นอุปกรณ์อินพุท (Input Unit) ทำหน้าที่นำไฟล์ภาพ หรือถ่ายภาพเพื่อนำไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กบริการบนอินเตอร์เน็ต

บริการบนอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตนั้นจัดได้ว่าเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ไว้ทั่วทุกมุมโลก คงปฏิเสธไม่ได้สำหรับในปัจจุบันถึงการที่มนุษย์ต้องยอมรับอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต โดยในอินเทอรเน็ตนั้นได้อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตในด้านการบริการในรูปแบบที่แตกต่างกันดังนี้



1.การให้บริการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.1)การให้บริการทางด้านการหาข้อมูล

บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยผู้ใช้สามารถทำการค้นหาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ได้ตามต้องการ เช่น ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ ข่าวสารทางสังคม ข่าวสารทางด้านการเมือง ข่าวสารทางการปกครอง ข่าวสารทางการศึกษา หรือสามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งมีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลอยู่หลาย ๆ เว็บไซต์ที่มีไว้สำหรับผู้ใช้ต้องการเข้ามาใช้บริการได้ตามต้องการผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการค้นหาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทั้งบริการข้อมูลทั่วไห ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย หรือคลังข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายเป็นกลุ่ม ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง

1.2)การให้บริการทางด้านการศึกษา

อินเทอร์เน็ตมีบริการทางด้านการศึกษา เป็นห้องสมุดบนเครือข่าย มีไว้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาที่ทำการเปิดสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นในสาขาวิชาต่าง ๆ มากมายที่มีการเปิดการเรียนการสอน ในปัจจุบันนี้นักศึกษาเองสามารถที่จะเรียนอยู่ที่บ้านโดยไม่ต้องไปโรงเรียนได้ ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก และยังเข้าไปค้นคว้าหนังสือตำราเรียน ในห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1.3)การสนทนาออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยโปรแกรม ( Chat )



บริการบนอินเทอร์เน็ตเดิมมีการบริการส่งเฉพาะข้อความ ซึ่งในปัจจุบันเมื่อมีการพัฒนารูปแบบการใช้อินเทอร์เน็ต ให้ง่ายขึ้นด้วยการคิดค้น World Wide Web ที่แสดงข้อมูลได้ทั้งภาพและตัวอักษรทำให้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นที่สนใจของผู้ใช้ทั่ว ๆ ไป ถึงแม้ว่ากลุ่มผู้ใช้นั้นจะไม่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ตาม เพราะว่าผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่ต้องใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์ที่สลับซับซ้อนในการใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกจากการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นด้วยการใช้ E-mail หรือ NewGroup การสื่อสารด้วยการพิมพ์โต้ตอบกันเป็นอีกบริการหนึ่งที่มีในอินเทอร์เน็ต ซึ่งรูปแบบในการสื่อสารด้วยข้อความเราเรียกว่า Chat โดยที่ผู้ใช้สามารถพิมพ์โต้ตอบแบบทันที กับผู้ร่วมสนทนา ซึ่งการสนทนาสามารถทำได้หลาย แบบจะคุยกับเพื่อน หลาย ๆ คนได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน หรือจะคุยเฉพาะในวงของคนรู้จักก็ได้

1.4)การให้บริการการหางานและสมัครงานผ่านอินเทอร์เน็ต

บนอินเทอร์เน็ตนั้นได้มีเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ที่รับสมัครงานผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปเลือกที่จะสมัครได้ โดยมีการกรอกแบบฟอร์มการสมัครผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้จะต้องมี E-mail เพื่อที่จะให้บริษัทติดต่อกลับ ว่าได้หรือไม่ในการสมัครงานในครั้งนั้น การสมัครงาน บนอินเทอร์เน็ตมีข้อดีคือ ผู้สมัครไม่ต้องไปเดินสมัครงานทั้งวันแล้วได้งานเพียงหนึ่งที่หรือสองที่ แต่สามารถสมัครผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และยังสามารถสมัครได้หลายที่เพียงนั่งสมัครที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น

1.5) การให้บริการจัดหางานและสมัครงานบนอินเทอร์เน็ต
สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1.5.1)การให้บริการทางด้านความบันเทิง

1.5.2)การ ให้บริการหนังสือนิตยสารทางด้านบันเทิงและแฟชั่นออนไลน

1.5.3)การให้บริการดูหนังฟังเพลง

1.5.4)การให้บริการเกมออนไลน์

1.5.5)การให้บริการแหล่งชุมนุมของวัยรุ่น

1.6)การให้บริการส่งข้อมูลทางไกล ( TelNet )

TelNet เป็นบริการที่ผู้ใช้งานนั้นสามารถที่จะ login เพื่อใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการที่จะสั่งงานให้คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกลออกไป โดยการจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานให้เป็นเสมือนจอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้ และสามารถที่จะสั่งให้โปรแกรมทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้โดยไม่ต้องทำงานประจำที่หน้าเครื่องนั้น โดยเหมือน กับผู้ใช้ได้เข้าไปใช้เครื่องนั้นเอง

การติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ในการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server ซึ่งกรณีในการใช้บริการการโอนย้ายข้อมูลมี 2 แบบ ดังน

1.) การดาวน์โหลด ( Downloading ) เป็นการโอนย้ายข้อมูลจาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้งาน ต้องเดินทางไปขายสินค้าที่ต่างจังหวัด แต่ลืมเอกสารการขายมาด้วย ผู้ใช้สามารถที่จะนำรูปแบบบริการนี้เข้ามาใช้โดยทำการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต และเข้าไปดึงข้อมูลหรือ ดาวน์โหลดข้อมูลที่เก็บไว้ที่เครื่อง Server มาใช้ในการทำงานโดยการขอเรียกใช้ข้อมูลผ่านโปรแกรม FTP

2.)การอัพโหลด (Uploading ) เป็นการโอนย้ายข้อมูลจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยัง FTP Server ซึ่งการใช้งานก็จะตรงกันข้ามกับการดาวน์โหลด แตกต่างกันตรงที่การอัฟโหลดนั้นเป็นการป้อนข้อมูลสู่ระบบเครือข่าย

1.7)การให้บริการทางด้านธุรกิจ



การทำธุรกิจโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้การติดต่อสื่อสารในด้านการทำธุรกิจสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในภาคธุรกิจโดยทั่วไปหันมาทำการค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) กันมากขึ้น เพราะภาวะทางด้านการแข่งขันของโลกแห่งเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจในปัจจุบัน
1.8)การให้บริการขายสินค้าในระบบ E-Commerce

การซื้อขายสินค้าในปัจจุบันผู้ใช้สามารถซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ในรูปแบบของ E-Commerce โดยสามารถที่จะเข้าไปเลือกพร้อมดูคุณสมบัติของสินค้าต่าง ๆ ผ่านทางจอคอมพิวเตอร์